วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

กรณีศึกษาที่ 2 โครงงานพัฒนาโปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต

2.1 การประยุกต์แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ปัญหา

       โรงพยาบาลแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาโปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตสำหรับผู้ป่วยที่มาทำการรักษา เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการเตือนการกินยาของผู้ป่วยให้กินยาได้ตรงเวลา โดยมีความต้องการของระบบเบื้องต้น ดังนี้
  1. โปรแกรมติดตั้งใช้งานอยู่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต
  2. ผู้ใช้งานต้องลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวก่อนเข้าใช้งานครั้งแรก โดยการบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องส่วนตัว และสามารถเลือกการถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บที่เครื่องแม่ข่ายได้เมื่อมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  3. ผู้ใช้งานสามารถจัดการ (เพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา) ข้อมูลส่วนตัวได้
  4. ผู้ใช้งานสามารถจัดการ (เพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา) ข้อมูลยาที่ต้องกินได้
  5. ผู้ใช้งานสามารถตั้งเวลาการเตือนการใช้งานยาที่ต้องกินได้
  6. มีการแจ้งเตือนการกินยาเมื่อถึงเวลาตามที่ตั้งไว้
  7. มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูลภายในตัวเครื่องของผู้ใช้ และที่เครื่องแม่ข่าย
  8. มีการเก็บประวัติการกินยา การเตือนการกินยาที่สามารถดูย้อนหลังได้
  9. มีการเก็บประวัติการพบแพทย์ และการจ่ายยาของแพทย์
  10. โรงพยาบาลสามารถเรียกดูข้อมูล ผู้ใช้โปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาผ่านทางเว็บไซต์ได้

2.2 การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ

       ในการพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ไขปัญหาเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ และให้โครงงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย โดยมีขั้นตอน ดังนี้

       1.การกำหนดปัญหา

          1) ประชุมทีมงาน หลังจากวิเคราะห์ความเป็นไปได้แล้ว ขั้นตอนถัดไป คือ การประชุม ทีมงานผู้พัฒนา เพื่อกำหนดหน้าที่ให้แก่ทีมงาน กำหนดลักษณะการทำงาน ข้อตกลงการทำงานรวมถึงมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทางทิศทางเดียวกัน และควรจัดทำเอกสารบันทึกการประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงลายมือชื่อรับทราบด้วยเช่นกัน 
          2) กำหนดแผนงาน หลังจากกำหนดทีมงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงงาน (proposal) และวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ของขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และการวางแผน

       2.วิเคราะห์ระบบ 

       1) สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน เป็นขั้นตอนที่ทีมต้องลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ใช้งานโดยเฉพาะผู้ป่วย ผู้ที่ต้องใช้งานโปรแกรมเพื่อเตือนการกินยา และสัมภาษณ์ความต้องการของโรงพยาบาลเกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการ โดยมีการเก็บข้อมูลต่างๆ ดังนี้
  • ความต้องการของโปรแกรมที่สร้างขึ้นใหม่
  • ข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นต่างๆ ของโปรแกรม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

       2) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ หลังจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลแล้ว ทีมผู้พัฒนาได้นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการเตือนการกินยา

       3) กำหนดขอบเขตของระบบ หลังจากวิเคราะห์ระบบงานจนถูกต้อง และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว ขั้นตอนถัดไปทีมพัฒนาควรกำหนดขอบเขตการทำงานของโปรแกรมแจ้งเตือนการกินยา

     3.ออกแบบระบบ

        1) แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน (flowchart)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

        2) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity Relationship diagram : ER-diagram)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

        3) พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พจนานุกรมข้อมูล

     4.การพัฒนาระบบ และทดสอบระบบ


        1) การพัฒนาระบบ
ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา โปรแกรมส่วนของการทำงานบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต
  • Java ใช้เป็นโปรแกรมภาษาหลักในการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต
  • SQL ใช้เป็นโปรแกรมภาษาที่ใช้การฐานข้อมูล
  • XML ใช้สร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานโปรแกรม
ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่วนที่เป็นเว็บเพจ
  • HTML โปรแกรมภาษาสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจ
  • CSS ชุดคำสั่งสำหรับจัดรูปแบบแสดงผลเอกสาร HTML ให้สวยงาม
  • JavaScript โปรแกรมภาษาสำหรับช่วยเพิ่มความสามารถให้แก่เว็บเพจเพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน
  • PHP โปรแกรมภาษาสำหรับสร้างส่วนประมวลผลเว็บไซต์และส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน
  • XML ใช้สร้างเป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมการแจ้งเตือนการกินยาบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

        2) การทดสอบระบบ
  • การทดสอบโดยผู้พัฒนาโปรแกรมในขณะทำการพัฒนาโปรแกรมซึ่งเป็นการทดสอบแต่ละฟังก์ชันการทำงานที่ทำการพัฒนา
  • การทดสอบภาพรวมการทำงานทั้งหมดเมื่อโปรแกรมถูกพัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยนักทดสอบระบบเพื่อดูว่าโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นทำงานได้ตรงตามความต้องการหรือไม่
  • การทดสอบโดยผู้ใช้งานจริง โดยจะนำไปให้โรงพยาบาล และผู้ที่ต้องใช้โปรแกรมแจ้งดตือนการกินยาได้ใช้งานจำนวน 2 สัปดาห์ และประเมินผลการทำงานเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยสุดท้ายแล้วจะได้โปรแกรมที่พร้อมใช้งาน และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานจริง

     5.ติดตั้งระบบ


        1) การติดตั้งโปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาให้กับผู้ที่ต้องการใช้โปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต ซึ่งสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง โดยโหลดแอปพลิเคชันจากสโตร์

        2) การติดตั้งโปรแกรมแจ้งเตือนการกินยาสำหรับผู้ใกล้ชิดหรือญาติ เพื่อใช้งานร่วมกับผู้ที่ใช้โปรแกรมแจ้งเตือนการกินยา โดยสามารถติดตั้งได้โดยตนเองโดยโหลดแอปพลิเคชันจากสโตร์

        3) การติดตั้งโปรแกรมในส่วนของเว็บเพจลงที่เครื่องแม่ข่าย สำหรับการใช้งานของโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบข้อมูล และจัดการข้อมูลของผู้ใช้โปรแกรมแจ้งเตือนการกินยา

     6.บำรุงรักษาระบบ


        1) ส่วนของการบำรุงรักษาโปรแกรมในส่วนของผู้ใช้โปรแกรมแจ้งเตือนกินยา เพื่อดูว่าการทำงานของโปรแกรมมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับผู้ใช้บ้าง

        2) ส่วนของการบำรุงรักษาโปรแกรมในส่วนของคนใกล้ชิดหรือญาติ เพื่อดูว่าการทำงานของโปรแกรมมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับผู้ใช้บ้างเช่นกัน

        3) ส่วนของการบำรุงรักษาโปรแกรมในส่วนของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นเว็บว่ามีการทำงานส่วนไหนมีปัญหาหรือขาดหายเลย

        4) ส่วนของข้อมูลที่เกิดขึ้นมาในการใช้งานโปรแกรมของทั้ง 3 ส่วน คือ ผู้ใช้โปรแกรมแจ้งเตือนการกินยา คนใกล้ชิดหรือญาติ โรงพยาบาล ว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นในโปรแกรมไม่ว่าจะมาจากการบันทึก หรือแก้ไขใดๆ ก็ตามข้อมูลนั้นยังคงอยู่ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่

        5) ส่วนของการพัฒนาโปรแกรมเสริมการทำงานเพื่อให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพทำงานที่สูงขึ้น ทั้งด้านความถูกต้อง ความเร็ว ความสะดวก และง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้
          

กรณีศึกษาที่ 1 โครงงานพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้ห้องสมุด

1.1 การประยุกต์แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ปัญหา

      โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุดของโรงเรียน โดยมีความต้องการของระบบเบื้องต้น ดังนี้
  1. โรงเรียนต้องการให้พัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุดในลักษณะเว็บแอปพลิเคชัน และรองรับการทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
  2. เว็บไซต์นี้ต้องแนะนำการใช้งานห้องสมุดโดยครอบคลุมหัวข้อ 
  3. จัดเก็บข้อมูลในลักษณะฐานข้อมูล

1.2 การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ

       โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นโครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและคอยให้คำแนะนำ

     1.การกำหนดปัญหา

     1) ประชุมทีมงาน หลังจากวิเคราะห์ความเป็นไปได้แล้ว ขั้นตอนถัดไป คือ การประชุมทีมงานผู้พัฒนา เพื่อกำหนดหน้าที่ให้แก่ทีมงาน กำหนดลักษณะการทำงาน ข้อตกลงการทำงานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้การปฏฺบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรจัดทำเอกสารบันทึกการประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงลายมือชื่อรับทราบด้วยเช่นกัน
     2)กำหนดแผนงานด้วยแผนภูมิแกนต์ หลังจากกำหนดทีมงานแล้วขั้นตอนถัดไป คือ การจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงงาน (proposal) และวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ของขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และการวางแผน ในที่นี้ระยะเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุด คือ 4 เดือน โดยในการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
    à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ แผนภูมิแกนต์

     2.วิเคราะห์ระบบ คือขั้นตอนการเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ปัญหาระบบงานเดิม วิเคราะห์หาความต้องการของระบบงานใหม่ หาผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่ และกำหนดขอบเขตของระบบงานใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาโครงงานซอฟต์แวร์ โดยมีรายละเอียดขั้นตอน ดังนี้

     1) สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน จากแผนการดำเนินงาน การสัมภาษณ์ผู้ใช้งานจะเริ่มสัปดาห์ที่ 2 โดยในการสัมภาษณ์นั้นทีมพัฒนาควรจัดทีมสัมภาษณ์อย่างน้อย 2 คน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน
     2) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ หลังจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลครั้งแรกแล้ว ทีมผู้พัฒนาจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
     3) กำหนดขอบเขตของระบบ หลังจากวิเคราะห์ระบบงานจนถูกต้อง และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว ขั้นตอนถัดไปทีมพัฒนาควรกำหนดขอบเขตการทำงานของเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุด